การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน สำหรับมือใหม่

คุณอาจทราบแล้วว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคคืออะไร แต่ยังไม่ทราบว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคืออะไร วิเคราะห์ตรงไหนและช่วยนักเทรดในการทำกำไรอย่างไร  บทความนี้จะให้คำตอบกับคุณ

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือ

การวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศที่ส่งผลกระทบกับสกุลเงินทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง  ในการเทรด Forex เราเทรดคู่สกุลเงิน นั่นหมายความว่า หากคุณเทรดคู่สกุลเงิน USD/JPY คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐ ฯ และญี่ปุ่นเพื่อประเมินมูลค่าสกุลเงิน USD เทียบกับ JPY ว่าเป็นอย่างไร หรือพูดง่าย ๆ คือการเทรดตามข่าว

ต่างจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคตรงไหน

ต่างกันตรงที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะอาศัยอินดิเคเตอร์อย่างเช่น Moving Average RSI Bollinger Band เพื่อดูความเคลื่อนไหวของราคาในอดีตและคาดเดาความเคลื่อนไหวของราคาที่จะเกิดขึ้น โดยมีความเชื่อว่า “ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิม”

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เหมาะกับใคร

เหมาะสำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารอยู่ตลอด เพราะการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาศัยข้อมูลจำนวนมากและเป็นปัจจุบันเพื่อการวิเคราะห์และเข้าเทรดเพื่อทำกำไรที่ถูกต้องแม่นยำ

ปฏิทินเศรษฐกิจคืออะไร และสำคัญอย่างไร

หนึ่งในตัวช่วยสำคัญของนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานคือปฏิทินเศรษฐกิจ ซึ่งระบุกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบกับค่าเงิน ช่วยให้นักวิเคราะห์ไม่พลาดทุกเหตุการณ์สำคัญที่อาจมีผลกระทบกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

ปัจจัยที่ส่งผลกับความเคลื่อนไหวของราคา

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

  • เงินเฟ้อ ในภาวะเงินเฟ้อ ปริมาณเงินจะมากกว่าความต้องการ ส่งผลให้ค่าเงินด้อยลง  ในทางกลับกัน หากประสบกับภาวะเงินฝืด ปริมาณเงินจะน้อยกว่าความต้องการ ส่งผลให้ค่าเงินเพิ่มขึ้น
  • สถานการณ์จ้างงาน หากตัวเลขการจ้างงานอย่างรายงานข่าวนอนฟาร์ม (รายงานอัตราจ้างงานแรงงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ฯ) ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์  เป็นสัญญาณว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอาจจะดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนแห่ซื้อสกุลเงิน USD จำนวนมาก ทำให้สกุลเงิน USD ปรับสูงขึ้น  แต่หากตัวเลขออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ นักลงทุนจะแห่เทขายสกุลเงิน USD ทำให้สกุลเงิน USD ตกลงมาก
  • การค้าขายระหว่างประเทศ สมมติว่า ไทยนำเข้าสินค้าจากจีนมากกว่าส่งออกไปยังจีน หมายความว่า ความต้องการเงินหยวนเพื่อซื้อสินค้าจีนมากกว่าเงินบาทเพื่อซื้อสินค้าไทย ทำให้มูลค่าเงินบาทต่ำลงเมื่อเทียบกับเงินหยวน ในทางกลับกัน หากสินค้าจากจีนแพงขึ้นและสินค้าไทยถูกลง คนจีนจะหันมาซื้อสินค้าไทยมากขึ้น  เมื่อจีนซื้อสินค้าจากไทยมากกว่าส่งออก เงินหยวนจะด้อยค่าลงเมื่อเทียบกับเงินบาท

ปัจจัยทางการเมือง

  • ดอกเบี้ย การขึ้นหรือลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางมีผลกับค่าเงิน เพราะนักลงทุนต้องการโยกย้ายเงินลงทุนจากประเทศที่ให้ดอกเบี้ยต่ำไปยังประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูง
  • เสถียรภาพทางการเมือง ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสูง นักลงทุนมั่นใจนำเงินมาลงทุนมาก ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นสูง
  • นโยบายภาครัฐ การออกนโนบายที่สนับสนุนหรือขัดขวางการค้า การลงทุน ล้วนมีผลกระทบค่าเงิน ไม่ว่าจะเป็นการทำสงคราม การห้ามนำเข้าสินค้า เป็นต้น

ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

คุณสามารถคาดการณ์ทิศทางกราฟได้ค่อนข้างแม่นยำมาก เพราะการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ถึงข้อมูลที่ส่งผลกับพฤติกรรมของนักลงทุนซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมของราคานั่นเอง

สรุป

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นหนึ่งในวิธีการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคา ซึ่งคุณสามารถติดตามทุกกิจกรรมสำคัญที่ส่งกระทบกับสกุลเงินผ่านปฏิทินเศรษฐกิจของ Exness และเริ่มต้นเทรดอย่างสบายใจด้วยบัญชี Cent

ที่มา : Exness

เปิดบัญชี

exnessforex