Bollinger Bands สำหรับมือใหม่
หากคุณยังดูเทรนด์ไม่ค่อยออก แนวรับ-แนวต้านไม่ค่อยชัวร์ อินดิเคเตอร์ Bollinger Bands ช่วยคุณได้
Bollinger Bands หน้าตาเป็นอย่างไร
Bollinger Bands ประกอบด้วย 3 เส้นดังนี้ (ค่ามาตรฐาน)
- เส้นบน (upper band) = เส้น SMA 20 + (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน x 2)
- เส้นกลาง (middle band) = เส้น SMA 20
- เส้นล่าง (lower band) = เส้น SMA 20 – (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน x 2)
แล้ว Bollinger Bands บอกอะไรกับเรา
ความผันผวนของตลาด
เมื่อ Bollinger Bands บีบตัวเข้ามาแคบ (กรอบสีส้ม) = ความผันผวนไม่สูง (การซื้อขายน้อย)
เมื่อ Bollinger Bands ขยายตัวออก (กรอบสีชมพู) = ความผันผวนสูง (การซื้อขายมาก)
แนวรับ-แนวต้าน
- เส้นบน = แนวต้าน
- เส้นกลาง = แนวต้านหรือแนวรับ
- เส้นล่าง = แนวรับ
จากภาพด้านบน กราฟเป็นขาลง คุณจะเห็นว่า เส้นล่างทำหน้าที่เป็นแนวรับและเส้นกลางทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
จากภาพด้านบน กราฟเป็นขาขึ้น คุณจะเห็นว่า เส้นบนทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้นกลางทำหน้าที่เป็นแนวรับ
แนวโน้มของราคา
แนวโน้มขาขึ้น = กราฟจะอยู่บริเวณเส้นบน ไม่ค่อยทะลุเส้นกลาง
แนวโน้มขาลง = กราฟจะอยู่บริเวณเส้นล่าง ไม่ค่อยทะลุเส้นกลาง
แนวโน้มไม่ชัดเจน = กราฟวิ่งชนเส้นบนแล้ววิ่งจนชนเส้นล่างแล้วกลับไปชนเส้นบนใหม่
หา oversold/overbought
เส้นบน – overbought (มากเกินไป) โดยปรกติแล้ว เมื่อกราฟวิ่งมาถึงโซน Overbought กราฟมักจะลงไปถึงเส้นกลางและวิ่งไปขึ้นใหม่ ยกเว้นตลาดไซด์เวย์ที่กราฟวิ่งลงเลยเส้นกลางจนถึงเส้นล่างและค่อยขึ้นมาใหม่
เส้นล่าง – oversold (มากเกินไป) โดยปรกติแล้ว เมื่อกราฟวิ่งมาถึงโซน Oversold กราฟมักจะขึ้นไปถึงเส้นกลางและดิ่งลงมาใหม่ ยกเว้นตลาดไซด์เวย์ที่กราฟวิ่งขึ้นเลยเส้นกลางจนถึงเส้นบนและหันหัวลงมาใหม่
เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก Bollinger Bands คุณควรใช้อินดิเคเตอร์อื่นๆ ประกอบ เช่น Relative Strength Index (RSI) และ Commodity Channel Index (CCI) เป็นต้น
ตอนนี้คุณคงเห็นแล้วว่า Bollinger Bands ช่วยให้คุณหาแนวโน้มง่ายขึ้นและมองเห็นแนวรับ-แนวต้านชัดขึ้น คุณสามารถเริ่มต้นใช้อินดิเคเตอร์ดังกล่าวบนบัญชี Cent ที่ให้คุณสัมผัสบรรยากาศการเทรดจริงในเงื่อนไขที่ออกแบบมาเพื่อมือใหม่เช่นคุณ!
ที่มา : Exness
Comments are closed.